วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

คุกกี้แผ่นบาง

ตูเล อัลมอนด์ คุกกี้แผ่นบางสูตรฝรั่งเศส


Almond Tulies (ขนมเบื้องฝรั่งเศส)อัลมอนด์ ตูเล สูตรไม่รับ ต้นตำหรับจากฝรังเศสสูตรนี้ได้รับการอนุเคราะห์จาก บ้านมัดตังค์ เบเกอรี่ ต้องขอขอบคุณไว้ก่อน สูตรนี้สำหรับไว้ทำทานเล่น จะได้ ขนมอัลมอนด์ ตูเล ประมาณ 140-150 ชิ้น 




ส่วนประกอบ

     
    ไข่ขาว 150 กรัม (ประมาณ 3-4 ฟอง)
      เนยละลาย 100 กรัม
      แป้งสาลีอเนกประสงค์ 90 กรัม

      เกลือ 1/4 ช้อนชา

     น้ำตาลไอซิ่ง 100 กรัม

      อัลมอนสไลด์สำหรับแต่งหน้า



วิธีทำ

            1. นำเนยไปตั้งไฟอ่อนๆ ให้เนยละลายให้หมด ไม่ต้องคน ให้เขย่าหม้อเอา หรือใครจะเอาเข้าไมโครเวฟก็ได้ครับ แล้วปล่อยไว้ให้เนยอุ่นๆ



             2.  นำไข่มาปั่นรวมกับน้ำตาลไอซิ่งที่ใส่เกลือแล้ว ตีด้วยความเร็วต่ำไล่ไปสูงจนเริ่มตั้งยอดอ่อน



             3. เปลี่ยนเป็นความเร็วต่ำ ใส่แป้งแล้วเพิ่มความเร็วจนตีให้ส่วนผสมเข้ากัน สลับกับปาดอ่างให้แป้งตกลงไปด้วยนะครับ เพื่อให้เข้ากันหมด ตีจนเข้ากันแล้วลดความเร็วต่ำเพื่อเทเนย
           4.    เทเนยที่ยังอุ่นๆ อย่าร้อนเกินไป และเย็นเกินไป ตีด้วยความเร็วปานกลางไปเรื่อย ๆ และปาดอ่างไปด้วยเพราะเนยบางส่วนเกาะขอบอ่างครับ ตีจนเข้ากัน สังเกตุง่ายว่าเป็นสีเดียวกันหมด แล้วปรับความเร็วต่ำสุดเพื่อไล่ฟองอากาศทิ้งไว้ประมาณ 1-2 นาที
              5.  เตรียมถาดที่ปูด้วย Baking Sheet เช็ดให้แผ่นเลียบติดถาด เพื่อขนมจะได้เรียบเนียน ไม่บวม และสุกเท่ากันทั้งถาดนะครับ
             6.  ตักส่วนผสมมา แนะนำให้ใช้ช้อนกาแฟเล็ก ๆ พอแล้ว ต้องกะเอาก่อนว่าใช้แค่ไหน ประมาณ 1 ช้อนชา ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับขนาดที่ต้องการด้วย และต้องหยอดให้เท่าๆ กันทั้งถาด เพื่อขนมจะได้สุกเท่ากันทั้งถาดนะครับ
             7. ใช้ก้นช้อนละเลงวนให้กลมและบาง และทำให้ครบทั้งหมดนะครับ




             8.  นำอัลมอลด์สไลซ์มาหยอด อย่าใส่อัลมอลด์มากเกินไป เพราะจะทำให้ขนมไม่หน้าทาน



          9. นำไปเข้าเตาอบ ที่อุณหภูมิ 180 องศา สังเกตุดูว่าขนมจะสีน้ำตาลอ่อนๆ อย่าเข้มเกินไปเพราะจะไม่หอมเนย และอย่าอ่อนเกินไปเพราะจะได้กลิ่นแป้ง ***ขั้นตอนนี้สำคัญมาก อย่าทำให้ขนมแข็งหรือปวม เพราะจะทำให้ขนมแข็งกรอบกลายเป็นคุกกี้ ไม่ค่อยหอม และที่สำคัญไม่ละลายในปาก สูตรต้นตำหรับต้อง หวาน หอม กรอบ ละลายในปาก เพียง 10 วินาที



           10. เมื่อสุกแล้ว ขนมยังนิ่มต้องให้ความเร็วแคะออกจากถาด ตอนนี้สามารถใช้พายขูดแรงๆ ได้เพราะขนมยังร้อยและยังไม่แตก



            11.  นำขนมไปวางลงถาดที่เป็นร่องและคว่ำหน้าอัลมอลด์ลง แล้วจะได้ อัลมอลด์ ตูเล สมบูรณ์แบบเหมือนต้นตำหรับ ถ้าไม่มีแนะนำให้ไปวางบนส่วนโค้งๆ ของลูกกลิ้ง หรือแก้วน้ำ จะได้เหมือนกันครับ




         12.  เสร็จสมบูรณ์ พร้อมเสริฟ ทานกับชา หรือกาแฟ จะอร่อยมากๆ





*** ข้อแนะนำควรเก็บขนมขณะยังร้อนๆ ไว้ในกล่องที่อากาศไม่เข้า จะเก็บขนมได้นาน 1-2 เดือน 









คุกกี้เนยสด




 คุกกี้เป็นอีกหนึ่งขนมที่หลายคนชอบทำเพื่อนำไปมอบเป็นของขวัญ ของฝากให้กับคนสนิท เพราะทำง่าย และสามารถรับประทานได้ทุกที่ทุกเวลา เป็นขนมพื้นฐานที่คนเริ่มทำเบเกอรี่ต้องลองทำ สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มทำ ไม่มีเตาอบ และยังไม่เป็นมือโปรในการทำขนม เราขอแนะนำวิธีการทำคุกกี้เนยสดด้วยไมโครเวฟ ที่ทำง่าย ๆ และความอร่อยก็ยังไม่แพ้เตาอบอีกด้วย


ส่วนผสม

แป้งสาลีอเนกประสงค์ 300 กรัม
ผงฟู 1 ช้อนชา
เกลือป่น 1/4 ช้อนชา
เนยสดชนิดเค็ม 300 กรัม
น้ำตาลไอซิ่ง 170 กรัม
ไข่ไก่ 1 ฟอง
น้ำหอมกลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา

วีธีทำ

1.ร่อนแป้งสาลีอเนกประสงค์กับผงฟู และเกลือป่นเข้าด้วยกัน เตรียมไว้

2.ตีผสมเนยสดกับน้ำตาลไอซิ่งด้วยเครื่องตีแป้งใช้หัวตีรูปใบไม้ ใช้ความเร็วปานกลางจนขึ้นฟู หรือประมาณ 5 นาที ลดความเร็วลง ใส่ไข่ไก่ และน้ำหอมกลิ่นวานิลลา ตีผสมพอเข้ากัน จากนั้นค่อย ๆ เติมส่วนผสมแป้งลงไป ตีผสมให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว

 3.ตักส่วนผสมคุกกี้เป็นก้อนกลมลงในจานกระเบื้อง กดให้แบนด้วยส้อมเบา ๆ โรยด้วยน้ำตาลทรายแดง แต่งให้สวยงามตามต้องการ


 4.นำเข้าเตาไมโครเวฟ ใช้อุณหภูมิประมาณ 200 องศาเซลเซียส ประมาณ 10-15 นาที จนคุกกี้สุกเหลือง  (ไมโครเวฟแต่ละเครื่องใช้เวลาในการอบต่างกัน) นำออกจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น พร้อมรับประทาน







เทคนิค : โรยน้ำตาลทรายแดงลงบนหน้าคุกกี้ก่อนนำเข้าอบเพื่อให้คุกกี้มีสีน้ำตาลสวยเหมือนอบด้วยเตาอบ





วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เทคนิคการทำคุกกี้

การทำคุกกี้แสนอร่อย


1. คนไทยส่วนใหญ่ชอบคุกกี้ที่มีกลิ่นหอม และรสชาติที่ดีจากเนยสด ดังนั้นควรเลือกเนยสดจึงจะดีที่สุด แต่ถ้าต้องการลดต้นทุนก็สามารถใช้มาการีนทดแทนได้ในบางส่วน แต่ก็ต้องทดแทนด้วยกลิ่นสังเคราะห์ เพื่อช่วยให้ขนมน่ารับประทานมากขึ้น
 2. ในขั้นตอนการทำ บางสูตรจะนิยมให้มีการตีส่วนผสมเนยกับน้ำตาลให้ขึ้นฟู จึงควรเลือกเนยสดที่่อุณหภูมิเย็นแต่ไม่แข็งมากนัก เนื่องจากอาจจะทำให้เครื่องตีใข่เสื่อมประสิทธิภาพได้ แต่บางสูตรไม่ต้องตีเนยมากนักก็ควรเลือกใช้เนยสดที่นิ่มจะช่วยให้ผสมวัตถุดิบได้ง่ายขึ้น
3. ในการตีเนยกับน้ำตาล ถ้าตีจนขึ้นฟูมากลักษณะของขนมก็จะฟู ร่วน นิ่มง่าย โปร่งเบา และไม่ค่อยอยู่ตัว เมื่ออบอาจจะแผ่กระจายมากกว่าปกติ ถ้าตีให้ขึ้นฟูน้อยมากเกินไป ลักษณะของคุกกี้ก็จะดูแข็งกระด้าง เมื่อรับประทานก็จะกรอบแข็ง แต่มีความกรอบที่คงทนมากกว่าการตีให้ขึ้นฟูมาก ดังนั้นขั้นตอนในการตีเนยจึงถือว่าสำคัญมาก ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญประกอบเข้าด้วยกัน
4. หัวตีที่ใช้ในการตีเนยกับน้ำตาลให้ขึ้นฟู ถ้าเป็นเครื่องตีไข่ที่มีขนาดตั้งแต่ 3 ลิตรขึ้นไป ก็ควรจะใช้หัวตีรูปใบไม้ เนื่องจากหัวตีชนิดนี้สามารถทนความหนืดและแข็งของเนยและส่วนผสมได้ดีกว่าการใช้หัวตีตะกร้อ ซึงถ้านำหัวตะกร้อมาใช้ตีนั้นข้อดีก็คือ ส่วนผสมจะขึ้นฟูเร็ว แต่ตัวเส้นลวดจะขาดง่าย ถ้าเป็นเครืองแบบมือถือ ซีตะกร้อของเครืองแบบนี้จะหนากว่า ก็สามารถใช้ตีได้เช่นกัน แต่ไม่ควรตีในปริมาณที่มากนัก

5. การผสมแป้งกับส่วนผสมเนยควร "คนอย่างเบามือ" หมายถึง ในการคนนั้นควรคนให้ส่วนผสมเข้ากันโดยเร็วที่สุด แต่ไม่ใช่การกวนหรือการตีส่วนผสมด้วยความเร็วที่สูง เนื่องจากการกวนหรือคนส่วนผสมนานๆ จะมีส่วนที่ทำให้แป้งเหนียว และขนมที่ได้จะมีลักษณะแข็งกระด้างได้
6. การปั้นหรือขึ้นรูปคุกกี้ก่อนนำเข้าอบ ขนาดของคุกกี้ก็มีผลต่อระยะเวลาที่ใช้ในการอบ โดยเฉพาะคุกกี้ที่ใช้ที่ตักไอศกรีมแล้วไม่ได้กดให้มีลักษณะที่แบนลง ก็จะทำให้ระยะเวลาในการอบมากกว่าคุกกี้ที่ขึ้นรูปทรงแบบแบน ส่วนคุกกี้ตัวไหนที่แป้งมีลักษณะเหลวเมื่อขึ้นรูป ก็ควรเกลี่ยส่วนผสมให้มีความบางอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สีของขนมเท่ากันเมื่ออบเสร็จ และเมื่อปั้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว การวางเรียงคุกกี้ลงบนถาดอบก็สำคัญเช่นกัน ควรวางระยะห่างกันประมาณ 1 นิ้ว เพื่อกันมิให้คุกกี้นั้นเกาะติดกันเมื่อขึ้นฟู ซึ่งจะทำให้คุกกี้เสียรูปทรงได้ ส่วนอีกประการหนึ่งระยะห่างนั้นจะมีผลต่ออุณหภูมิที่จะเข้าไปถึงชิ้นที่อยู่ตรงกลาง ถ้าเรียงชิดติดกันมากชิ้นที่อยู่ด้านข้างก็จะสุกก่อน ส่วนชิ้นตรงกลางก็จะใช้เวลาที่นานกว่า ส่วนการปั้น ควรปั้นให้มีขนาดเท่าๆกัน เพื่อให้ขนมสุกพร้อมกัน
7. อุณหภูมิในการอบในสูตรแต่ละตัวจะบอกไว้อยู่แล้ว เหตุที่แต่ละตัวใช้เวลาไม่เท่ากันเนื่องจากลักษณะและรูปทรงของขนม คุกกี้ที่มีตัวแผ่นบางก็ควรใช้อุณหภูมิสูง แต่ใช้เวลาสั้น คุกกี้ก็จะกรอบร่วนพอดี ถ้าเป็นคุกกี้ที่มีชิ้นหนาก็ควรใช้อุณหภูมิที่ต่ำลงมาพอสมควร เพื่อให้ขนมสุกทั่วกัน โดยที่ภายนอกขนมนั้นจะไม่เกิดสีที่ไหม้ โดยทั่วไปจะใช้อุณหภูมิ 300-350 องศาฟาเรนไฮต์

8. ถั่วต่างๆ ที่จะนำมาใส่ลงในส่วนผสมนั้นควรผ่านการอบให้สุกเสียก่อน เนื่องจากเวลาที่ใช้ในการอบคุกกี้ต่อครั้ง ไม่สามารถทำให้ถั่วสุกได้ และเพื่อป้องกันความชื้นที่มีอยู่ในถั่วที่อาจจะทำให้คุกกี้นั้นนิ่มได้ง่าย
9. เมื่ออบคุกกี้สุกแล้วควรจะแซะและวางลงพักบนตะแกรงให้เย็นทันที ถ้าปล่อยให้เย็นในถาด คุกกี้จะเกาะติดถาดทำให้เสียรูปทรงเวลาแซะออกมา และที่สำคัญในระหว่างการแซะนั้นไม่ควรวางชิ้นคุกกี้ให้ซ้อนกันมากๆ จะทำให้คุกกี้มีรูปร่างที่ผิดแปลกไปได้
10. คุกกี้เป็นขนมที่สามารถทำและเก็บไว้ได้นาน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปที่ยังไม่ได้อบก็สามารถเก็บได้ โดยบรรจุภาชนะให้ดี แช่ตู้เย็น ถ้าต้องการให้นานขึ้นอีก ก็แช่แข็ง แล้วค่อยแบ่งอบตามต้องการได้ ส่วนหลังจากเมื่ออบเสร็จแล้ว ก็สามารถเก็บได้นานอีกเช่นกัน เพียงแต่เก็บในบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่สามารถป้องกันอากาศเข้าได้ก็จะเก็บได้เป็นเดือน ข้อสำคญอีกหนึงข้อคือ ก่อนบรรจุขนมลงภาชนะนั้นจะต้องพักขนมให้เย็นสนิทเสียก่อนที่จะบรรจุ